คุณเลือกกองทุนตามสาขาของธนาคาร ?
คุณเลือกกองทุนตามที่พนักงานธนาคารแนะนำ ?
คุณเลือกกองทุนตามที่เพื่อนบอก?
ถ้าส่วนใหญ่ คุณตอบว่าใช่ ก็แสดงว่า
มีโอกาสผิดพลาดซะแล้ว สำหรับการลงทุนผ่านกองทุนรวม
ลองมาดูกันว่า คนส่วนใหญ่ผิดพลาดอะไรบ้าง ??
- เลือกกองทุนไม่ตรงกับเป้าหมายด้านการเงิน
เป้าหมายทางของการลงทุนจะไม่เหมือนกัน เช่น เป้าหมายเพื่อการเกษียณ เป็นเป้าหมายระยะยาว ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้มาก หรือหากเป้าหมายเพื่อเก็บเงินระยะสั้นภายในเวลา 2-3 ปี ก็ควรลงทุนในหุ้นในน้อย ไปเพิ่มส่วนของการลงทุนในตราสารหนี้ในมากขึ้น
แต่คนส่วนมาก ไม่มีแม้จะมีเป้าหมายทางการเงิน แค่รู้ว่า ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ทำให้เลือกซื้อกองทุน ที่มีนโยบายการลงทุนที่ไม่ตรงกับเป้าหมายการเงิน
แค่เริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว… - ไม่วางแผน จัดพอร์ตการลงทุน
เราควรวางแผนจัดสรรพอร์ตการลงทุน (asset allocation) ให้เหมาะสมตามเป้าหมาย กระจายความเสี่ยงไปยังทรัพย์สินหลายๆ ประเภท ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน เช่น หุ้นไทย และหุ้นต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนทิศทางของทรัพย์สิน ที่เป็นไปในทางเดียวกัน
ที่สำคัญการจัดพอร์ตการลงทุนจะต้องสอดคล้องกับการเป้าหมายทางการเงินที่มีอยู่ แต่คนส่วนมากจะไม่มีจัดพอร์ตการลงทุนเลย อาจจะทำให้พลาดเป้าหมายของการเงิน
- พยายามจะจับจังหวะตลาด (Market Timing)
คาดการณ์ตลาดนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้นแทนที่จะคาดการณ์ตลาด ควรจะมุ่งความสำคัญไปที่การกำหนดเป้าหมาย และการวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกัน
ควรจะแบ่งเงินส่วนใหญ่ ลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในทุกๆ งวด เช่น ทุกเดือน วิธีนี้จะช่วยให้นักลงทุนจำกัด ผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด
แต่คนส่วนใหญ่จะซื้อกองทุนตอนสิ้นปี หรือ ซื้อครั้งเดียว นี่เป็นข้อผิดพลาดมากๆ ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการเฉลี่ยของต้นทุนในการซื้อกองทุนได้ - ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยง
การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน คือการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป
การลงทุนในกองทุนรวมนั้น หลายท่านอาจกำลังเข้าใจผิดว่า การที่มีกองทุนรวมหลายๆกองในพอร์ตก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีอยู่แล้วแต่ในความเป็นจริงนั้นกองทุนแต่ละกองที่นักลงทุนถืออยู่อาจจะลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมือนกันหรืออยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้
ดังนั้นจะต้องดูลึกเข้าไปเพิ่มเติมว่า หุ้นแต่ละตัวในกองทุนมีอะไรที่เหมือนกันและแตกต่างกันบ้าง
- เลือกกองทุนตามขนาด
ถ้าใครเห็นธนาคารใหญ่หลายแห่งมักจะบอกว่า ให้มาซื้อกองทุนกับเขาซิ เพราะกองทุนของเขามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ - เลือกกองทุนโดยดูที่ ราคา NAV
เห็นประจำ คนส่วนใหญ่คิดว่า ราคา NAV ของกองทุนสูงหมายถึง กองทุนนั้นมีราคาแพงเกินไป ไปซื้อกองทุนที่มี NAV ถูก
แค่คิดก็ตัดสินใจซื้อผิดแล้ว ไม่จริงนะครับ performance ของกองทุนไม่เกี่ยวกับ ราคา NAV เลย - เลือกกองทุนที่มี Performance ดี ไม่เป็น !!!!
มาถึงข้อสำคัญที่สุด ที่คนส่วนใหญ่จะพลาด เลือกกองทุนที่มี performance ดีมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ วันนี้ผมจะบอกแค่เบื้องต้น เราจะเลือกกองทุนที่มี performance ดีจากอะไรบ้าง
ผลตอบแทนต้องชนะตลาด
ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง
ราคาของกองทุนต่อผลกำไรของบริษัทที่อยู่ในกองทุนไม่สูงเกินไป
ค่าธรรมเนียมไม่สูงเกินไป
- ไม่วัดผลการลงทุน
ส่วนใหญ่จะซื้อไว้แล้วลืมตรวจสอบว่า กองทุนที่ซื้อไป performance เป็นอย่างไร เพราะหลายๆ กองทุนที่เคยมี performance ดี อาจ performance ไม่ดีได้.ในอนาคต ดังนั้นควรจะวัดผลงานของการลงทุนทุกปี - ไม่ปรับพอร์ตให้สมดุล
จากข้อที่บอกว่า จะต้องจัดพอร์ตการลงทุน ถ้าเรามีการจัดพอร์ตแบบซื้อกองทุนหุ้น 60% และกองทุนตราสารหนี้ 40%
พอเวลาผ่านไป หุ้นเติบโตได้ดี สัดส่วนของมูลค่าของหุ้นอาจจะโตถึง 80% ทำให้พอร์ตการลงทุนที่กำหนดตอนแรกผิดไป ความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนจะสูงขึ้น
ดังนั้นจำเป็นต้องปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมือนเดิม คือ กองทุนหุ้น 60% โดยการขายกองทุนหุ้นที่มีกำไรออกไป 20%
มีการศึกษาแล้วว่า ถ้าปรับพอร์ตให้สมดุลปีละครั้ง จะทำให้ความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
- การไม่เริ่มที่จะลงทุน
มีหลายคนที่คิดว่าตัวเองยังไม่พร้อมที่จะลงทุน เพราะยังมีเงินทุนไม่เพียงพอจึงไม่เริ่มลงทุนเสียที การเลื่อนวันที่จะลงทุนออกไปทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากระยะเวลาในการลงทุน ตัวอย่างเช่น
หากนำเงิน 2,000 บาท ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 15 ปี มูลค่าของเงินเป็น 8,400 บาท ซึ่งจะมากกว่า การนำเงิน 4,000 ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 7 ปี มูลค่าของเงินเป็น 7,794 บาท นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน