กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นหนึ่งในกองทุนที่มีการเข้าใจผิดมากในเงื่อนไข และสินทรัพย์ในการลงทุนมากที่สุดกองทุนหนึ่ง เพราะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นกอง “เพื่อวัยเกษียณ” แต่แท้จริงแล้ว RMF เน้นการลงทุนที่หลากหลายเพื่อ “รับมือกับการเกษียณอย่างมีคุณภาพ” ต่างหาก
ก่อนที่จะเลือกซื้อ RMF เรามารู้จักกองทุนนี้ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องกันก่อนดีกว่าครับ
รวมมิตรสิ่งที่คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ RMF
RMF เป็นกองทุนสำหรับคนแก่ อายุมากแล้วค่อยลงทุนก็ได้
กองทุน RMF สามารถลงทุนได้ทันทีที่มีความพร้อม ไม่จำเป็นต้องรอจนใกล้เกษียณ กลับกัน ยิ่งลงทุนใน RMF ไวยิ่งมีโอกาสสร้างเงินก้อนในอนาคตได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
RMF เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
แท้จริงแล้วกองทุน RMF นั้นมีให้เลือกลงทุนมากมายทุกระดับความเสี่ยง ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง นักลงทุนสามารถเลือกที่จะจัดสรรการลงทุนให้เป็นสัดส่วนให้เหมาะสมกับตัวRMF จะต้องลงทุนเท่ากันเป็นประจำทุกปี
RMF ไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกปี สามารถลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องลงทุนเป็นประจำทุกปีเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกันครับ
RMF จะลงทุนได้ 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท
RMF สามารถลงทุนได้ 30% ของรายได้พึงประเมินจริง แต่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีดัวยนะ สำหรับเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่สามารถนำมารวมคำนวณเพื่อ
ลงทุนใน RMF ได้ และลงทุนได้ไม่เกิน 500,000 บาท โดยจำนวนเงินลงทุนนี้จะรวมกับกองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เบี้ยประกันแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายโรงเรียนเอกชนด้วย ทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
RMF จำเป็นต้องมีการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เดียวกันทุกปี
ในแต่ละปีการลงทุน RMF ผู้ลงทุนสามารถลงทุน บลจ.เดียวหรือหลาย บลจ.ก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนใน บลจ.เดียวกันจะทำได้ง่ายกว่า
RMF มีการจ่ายเงินปันผล
กองทุน RMF จะไม่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผล แต่จะเน้นในการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนเก็บเป็นเงินก้อนเพื่อใช้ยามเกษีย
เพียงเท่านี้หลายคนคงหายเข้าใจผิดเกี่ยวกับ RMF แล้ว มาดูกันดีกว่าว่าถ้าสนใจจะซื้อกองทุน RMF จะต้องเลือกอย่างไรดี
เลือกซื้อ RMF ให้เหมาะกับตัวคุณ
สำหรับผู้ที่ตัดสินใจเลือกซื้อ RMF แสดงว่าตัวคุณนั้นอาจมีการเตรียมตัวลงทุนระยะยาว หรือเตรียมตัวเกษียณมาแล้ว ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม โดยมีหลักการใหญ่ๆ 5 ข้อดังนี้
ตรวจสอบความเสี่ยงของตนเอง ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง และก่อนเลือกซื้อกองทุนใหม่ๆ ควรมีการตรวจสอบและอัพเดทความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น อายุ รายรับต่อปี รวมถึงประสบการณ์และความรู้ในการลงทุน
สำหรับคนที่ไม่เคยประเมินความเสี่ยงของตัวเอง สามารถตรวจสอบความเสี่ยงเบื้องต้นได้ที่แบบประเมินความเสี่ยงเพื่อการลงทุน ก่อนลงทุน
เช็คความเสี่ยงของกองทุนที่สนใจ หลังจากประเมินความเสี่ยงของตัวเองแล้ว ก็ลองดูความเสี่ยงของกองทุนว่าเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้มากแค่ไหน โดยแต่ละกองทุนก็จะมีตัวเลขความเสี่ยงนี้บอกในหนังสือชี้ชวนลงทุนเสมอ
ดูนโยบายการลงทุนของกองทุน กองทุน RMF ที่สนใจมีการลงทุนแบบไหนบ้าง เนื่องจากจริงๆ แล้ว RMF นั้นมีการลงทุนที่หลากหลายมาก การจะเลือกซื้อ RMF จึงต้องมีการแบ่งรายละเอียดลงไปในการลงทุนเชิงลึกเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลือกซื้อ
หากต้องการลงทุนในต่างประเทศ อาจเลือกลงทุนในกองทุนที่มีการลงทุนตราสารหนี้หรือบริษัทต่างประเทศ แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อยอาจใช้การจัดสัดส่วนการลงทุนไปลงทุนในกองทุน RMF ที่ลงทุนตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
วางแผนการลดหย่อนภาษี RMF และการลดหย่อนภาษี เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกอีกต่อไป ดังนั้นผู้ลงทุนควรมีการวางแผนภาษีขั้นต้น และคำนวณการลดหย่อน ก่อนดำเนินการเลือกซื้อ RMF เพื่อทำให้การลดหย่อนของตนเองคุ้มค่ามากที่สุด และลงทุนได้เกิดประโยชน์ที่สุด
จัดการพอร์ตอย่างมีคุณภาพ พอร์ตที่ดีจะไม่ใช่พอร์ตที่ทำกำไรสูงสุดในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นพอร์ตที่มีความหลากหลาย สามารถรับความเสี่ยงด้านการลงทุนได้ และทำกำไรได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
ดังนั้นเราควรมีการตรวจสอบพอร์ตของตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงมีการกระจายการลงทุน (Asset Allocation) เพื่อลดความเสี่ยงและความผันผวนจากการลงทุน
นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ