Phone

+123-456-7890

Email

[email protected]

Opening Hours

Mon - Fri: 7AM - 7PM

“ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี”
ชื่อขึ้นต้นด้วย “ค”
คริสเตียน บี. แอนฟินเซน
คริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน จูเนียร์ (อังกฤษ: Christian Boehmer Anfinsen, Jr.; 26 มีนาคม ค.ศ. 1916 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายนอร์เวย์ที่เมืองโมเนสเซน รัฐเพนซิลเวเนีย เป็นบุตรของโซฟี (นามสกุลเดิม รัสมุสเซน) และคริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน ซีเนียร์ ช่วงทศวรรษที่ 1920 ครอบครัวของแอนฟินเซนย้ายไปอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย แอนฟินเซนเรียนที่วิทยาลัยสวาร์ธมอร์จนจบปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1937 สองปีต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทสาขาเคมีอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปีเดียวกัน ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กของมูลนิธิอเมริกัน-สแกนดิเนเวียนที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กมอบตำแหน่งสมาชิกให้แก่แอนฟินเซนในฐานะผู้พัฒนาวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนเชิงซ้อนและการตั้งชื่อเอนไซม์ ในปี ค.ศ. 1941 แอนฟินเซนทำงานที่ภาควิชาชีวเคมีของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่นั่นในอีกสองปีต่อมา

joker123

ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติเลือกแอนฟินเซนให้เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาเซลล์ สี่ปีต่อมา เขากลับไปทำงานที่ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กและมีโอกาสเรียนที่สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์แมนน์ที่เมืองเรโฮวอต ประเทศอิสราเอล แอนฟินเซนได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกาในปี ค.ศ. 1958

สล็อต

ในปี ค.ศ. 1962 แอนฟินเซนเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและเป็นหัวหน้าภาควิชาเคมี ก่อนจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมีที่สถาบันโรคข้ออักเสบและโรคทางเมตาบอลิซึมจนถึงปี ค.ศ. 1981 ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 แอนฟินเซนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลำดับกรดอะมิโนกับปฏิกิริยาคอนฟอร์เมชันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ[4] หลังจากนั้นเขาได้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมโลก ระหว่างปี ค.ศ. 1982–1995 แอนฟินเซนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีเชิงชีวฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

สล็อตออนไลน์

ด้านชีวิตส่วนตัว แอนฟินเซนแต่งงานครั้งแรกกับฟลอเรนซ์ คีเนนเกอร์ในปี ค.ศ. 1941 มีบุตรด้วยกัน 3 คนแต่หย่าร้างในปี ค.ศ. 1978 ต่อมาเขาแต่งงานใหม่กับลิบบี ชูลแมน เอลีในปี ค.ศ. 1979 และมีบุตรบุญธรรม 4 คน แอนฟินเซนเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มที่เมืองแรนดอลส์ทาวน์ รัฐแมริแลนด์ในปี ค.ศ. 1995

jumboslot

ควร์ท อัลเดอร์
ควร์ท อัลเดอร์ (เยอรมัน: Kurt Alder; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1902 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1958) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองเคอนิชส์ฮึทเทอ (ปัจจุบันคือเมืองคอชุฟในประเทศโปแลนด์) เรียนจบด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลินและเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยคีล หลังเรียนจบ อัลเดอร์ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคีล ในปี ค.ศ. 1928 อัลเดอร์และอ็อทโท ดีลส์ อาจารย์ของเขาค้นพบปฏิกิริยาดีลส์–อัลเดอร์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์วงแหวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 อัลเดอร์ย้ายไปทำงานที่บริษัทเคมีภัณฑ์ อีเก ฟาร์เบิน ในเลเวอร์คูเซินและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคโลญ ในปี ค.ศ. 1950 อัลเดอร์และดีลส์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบและพัฒนาการสังเคราะห์ไดอีน อัลเดอร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1958 ชื่อของเขาได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อแอ่งดวงจันทร์และสารออลดริน

slot

เค็งอิจิ ฟูกูอิ
เค็งอิจิ ฟูกูอิ เป็นนักเคมีชาวญี่ปุ่นและเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี โดยได้รับรางวัลนี้ใน ค.ศ. 1981 ร่วมกับโรอัลด์ ฮ็อฟมันจากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมี งานของฟูกูอิมุ่งเน้นไปที่บทบาทของออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่บริเวณรอยต่อ (Frontier Molecular Orbital; FMO) ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะโมเลกุลที่เกิดปฏิกิริยาเกิดพันธะเคมีแบบหลวม ๆ และมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ในออร์บิทัลที่บริเวณรอยต่อ ได้แก่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลระดับสูงสุดที่มีอิเล็กตรอนเต็ม (Highest Occupied Molecular Orbital) หรือโฮโม (HOMO) และออร์บิทัลเชิงโมเลกุลระดับต่ำสุดที่ไม่มีอิเล็กตรอน (Lowest Unoccupied Molecular Orbital) หรือลูโม (LUMO)

Recommended Articles